วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

ของฝาก จังหวัดพังงา


แกงไตปลา  เป็นอาหารพื้นเมืองทางภาคใต้ซึ่งมีรสชาดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และมีการประกอบ เพื่อรับประทานกันทุกครัวเรือน วิธีการทำมีความยุ่งยากซับซ้อนพอสมควรอีกทั้งรสชาดก็หลากหลาย แตกต่างกันไปตามฝีมือของแต่ละชุมชน
 ขนมเกลียว เป็นของฝากประเภทคบเคี้ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย  ทำจากแป้งหมี่ผสมไข่  ปรุงรส ด้วยพริกไทย เกลือ เคล้าให้เข้ากันก่อนจะนำมาปั้นเป็นเกลียว ทอดจนหอมกรอบ แล้วนำมาคลุกน้ำตาล  มีรสหวาน หาซื้อได้ตามร้านขายของฝากทั่วไป  หรือสามารถติดต่อซื้อโดยตรงที่ร้านครูแอ๊ว ถนนศรีอิน ทราทิตย์ โทร. 0 5561 2037 ร้านสุคนธา ถนนจรดวิถีถ่อง โทร. 0 5561 2112
 กล้วยอบเนย เป็นของฝากของอำเภอคีรีมาศ  คล้ายกับขนมรังนกซึ่งใช้มันเทศแต่ดัดแปลงมาใช้ กล้วยแทนทำมาจากกล้วยน้ำว้า ดิบปอกเปลือกซอยขวางเป็นชิ้นบาง ๆ ผึ่งลมไว้ครึ่งวันก่อนจะนำไป ปรุงรสด้วยเกลือนำไปทอดในน้ำมันร้อน ผสมน้ำตาลลงไปกวนแล้วนำมาโรยงาขาวและเนย  นักท่อง- เที่ยวสามารถซื้อได้จากร้านขายของที่ระลึกทั่วไป
 ขนมผิง ทองม้วน ทองพับ และทองตัน  เป็นของฝากที่มีรสชาติอร่อยและกรอบ ลักษณะต่างๆ กัน เช่น พับเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ม้วนกลม และม้วนแน่นทึบ หาซื้อได้จากตลาดบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ หรือ ร้านขายของฝากของที่ระลึกในจังหวัดสุโขทัย
 ผลิตผลทางการเกษตร และอาหารทะเล
พังงามีแหล่งผลิตกะปิจากกุ้งฝอยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น กะปิเกาะยาว กะปิเกาะปันหยี และยังผลิต กุ้งเสียบออกไปจำหน่ายจังหวัดใกล้เคียงด้วย สามารถหาซื้อเป็นของฝากได้ที่ตลาดสดในอำเภอเมือง หรือตลาดสดในอำเภอตะกั่วทุ่ง
 ร้านจำหน่ายของที่ระลึก
สมเกียรติ สมเกียรติจำหน่ายลูกตาลเชื่อมน้ำผึ้ง
ที่อยู่ : ตำบลกระโสม จังหวัดพังงา
โครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและเยาวชน ด้วยการสอนศิลปวาดผ้าบาติก โครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและเยาวชน
ที่อยู่ : โครงการฟื้นฟูสภาพจิตใจเด็กและเยาวชน ด้วยการสอนศิลปวาดผ้า บ้านน้ำเค็ม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 9645 7705
จิ๋วเบเกอรี่ จิ๋วเบเกอรี่
จำหน่ายขนมเต้าส้อ
ที่อยู่ : 6/10 ถนนเพชรเกษม อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 0 7642 1521
ศิริพร ศิริพร
จำหน่ายกุนเชียง, หมูหยอง
ที่อยู่ : 185 ซอยริมถนน ตำบลศรีเมือง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 0 7642 1146, 0 7643 1637
ตวงรัตน์ ตวงรัตน์
จำหน่ายขนมเต้าส้อ, ขนมจีบไส้สังขยา
ที่อยู่ : 202 ซอยริมถนน ถนนราษฎร์บำรุง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 0 7642 1082
กลุ่มสตรีแปรรูปอาหาร กลุ่มสตรีแปรรูปอาหาร
จำหน่ายกะปิ แกงไตปลา
ที่อยู่ : หมู่ 4 บ้านเหนือ ตำบลกะไหล อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 1893 6479, 0 7644 4217
กลุ่มอาชีพบ้านเทพนิมิตร กลุ่มอาชีพบ้านเทพนิมิตร
จำหน่ายขนมทองม้วนยายแป้น
ที่อยู่ : 1/1 หมู่ 3 ตำบลถ้ำทองหลาง อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 9683 1237, 0 7641 4117
กลุ่มสตรีเกาะปันหยี กลุ่มสตรีเกาะปันหยี
จำหน่ายเครื่องประดับไข่มุก
ที่อยู่ : 66/3 หมู่ 2 บ้านเกาะปันหยี ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 9725 7896
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรัพย์สวนใหม่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทรัพย์สวนใหม่
จำหน่ายกาแฟโบราณบรรจุพร้อมดื่ม แปรรูปด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบโบราณ
ที่อยู่ : 178/1 หมู่ 6 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 9588 5830
กลุ่มดอกไม้จากใบยางพารา กลุ่มดอกไม้จากใบยางพารา
จำหน่ายดอกกล้วยไม้จากใบยางพารา
ที่อยู่ : 50/8 หมู่ 1 ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
โทรศัพท์ : 08 6593 0973

ร้านอาหารใน จังหวัดพังงา

ร้านอาหารทะเล ปูดำ

ร้านอาหารไทย เรือนไม้แก่น

อาหารพื้นเมือง เล็กโลบะ

 ร้านอาหาร อีสานริมทาง

 ร้านอาหารบ้านเขาหลักซีฟู๊ด

ร้านอาหารทะเล ยิ้ม ยิ้ม

 ห้องอาหาร ใบตอง

ร้านอาหารทะเล หาดทรายซีฟู้ด

 ร้าน มิสเตอร์สะเต๊ะ

 ร้านอาหาร ครัวสุนิมิตร

 ร้านอาหาร จ่าจรัญ

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยว


เกาะตะปู


เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปันหยีจังหวัดพังงา อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้เกาะตะปู เป็นเขาหินปูน (Limestone) มีอายุยุคเพอร์เมียน (Permian) หรือประมาณ 295-250 ล้านปี เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติสึกกร่อนจากการละลายน้ำได้ง่าย ดังนั้นเกาะต่าง ๆ ในบริเวณอ่าวพังงาจึงมีรูปร่างแปลก ๆ และมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการผุพังทำลายของเนื้อหิน
ไฟล์:James Bond island.jpg

ที่มาและลักษณะ

กำเนิดของเกาะตะปูมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสมัยโบราณ เดิมเกาะตะปูและเกาะเขาพิงกันด้านตะวันออกมีสภาพเชื่อมต่อเป็นผืนเดียวกัน และอยู่บนผืนแผ่นดิน การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกในเวลาต่อมา ทำให้เกิดมีรอยเลื่อนใหญ่เป็นแนวยาวพาดผ่านพื้นที่อ่าวพังงาด้านตะวันตก เรียกว่ารอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนนี้ทำให้เกิดรอยเลื่อนย่อย ๆ ติดตามมาดังจะเห็นได้จากรอยเลื่อนที่เขาพิงกัน รอยเลื่อน รอยแตก และรอยแยกที่พบในหินปูนเกาะตะปู นอกจากนั้น รอยเลื่อนยังทำให้เกิดการหักพังของหินขึ้นในบริเวณรอยต่อระหว่างเขาตะปูและเขาพิงกันทางด้านตะวันออก ทำให้เขาตะปูแยกออกมาเป็นเขาลูกโดด
แผ่นดินเขาตะปูและเขาพิงกันได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลที่แผ่ขยายเข้ามาท่วมในช่วงหลังสุดเมื่อประมาณ 10,000 ปีที่ผ่านมา ทำให้พื้นที่เขาพิงกัน และเขาตะปูมีสภาพเป็นเกาะ โดยบริเวณเขาตะปูเป็นหัวแหลมยื่นออกไปในทะเล ต่อมาหัวแหลมถูกคลื่นกัดเซาะและขัดเกลา จนกระทั่งมีรูปทรงเรียวและขาดออกจากตัวเขาพิงกันตะวันออกอย่างเด่นชัด มีสภาพเป็นเกาะหินโด่ง
น้ำทะเลที่ขึ้นสูงสุดเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่ผ่านมา มีระดับสูงกว่าระดับปัจจุบันประมาณ 4 เมตร การขึ้นลงของน้ำทะเล ได้กัดเซาะเกาะตะปูให้เกิดเป็นแนวรอยน้ำเซาะหิน เว้าเข้าไปที่ระดับดังกล่าว ต่อมาน้ำทะเลลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2.5 เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลใหม่ได้กัดเซาะส่วนล่างของเกาะตะปูให้เกิดเป็นรอยน้ำเซาะหินแนวใหม่ คือ ระดับที่เป็นส่วนคอดกิ่วที่สุด และเป็นบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตเช่น หอย เพรียง เกาะอาศัยอยู่โดยรอบเมื่อได้นำซากหอยนางรมที่ติดอยู่ในแนวรอยกัดเซาะนี้ไปหาอายุโดยวิธีคาร์บอนรังสี (C14) ได้อายุประมาณ 2,620 + 50 ปี แสดงว่ารอยคอดกิ่วนี้เกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเลเมื่อเวลาประมาณ 2,500 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นน้ำทะเลจึงลดระดับลงมาอยู่ที่ระดับปัจจุบัน ส่วนที่คอดกิ่วที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 ปีที่ผ่านมานี้เอง ทำให้เกาะตะปูมีลักษณะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศ
เกาะตะปูมีปัญหาการพังทลาย อันเกิดจากการกัดเซาะกัดเซาะของน้ำทะเล การขุดเจาะเนื้อหินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำพวกหอยนางรม เพรียง ปู ฯลฯ ความแรงของคลื่นลมในฤดูมรสุม การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของโลก เนื่องจากปฏิกิริยาเรือนกระจกอันอาจมีผลให้คลื่นลมเปลี่ยนความเร็ว และสุดท้ายคือการ ถูกรบกวนด้วยกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การจอดเรือโดยการทิ้งสมอการผูกเรือไว้รอบเกาะ รวมทั้งคลื่นจากเรือหางยาวที่วิ่งรอบเกาะ

ถ้ำเขางุ้ม

    ใช้เส้นทางพังงา-กระบี่ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ไป 3 กิโลเมตร แล้วแยกขวาข้างสถานีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตไปอีก 3 กิโลเมตร ถึงบริเวณธารน้ำตก สภาพโดยทั่วไป เป็นป่าร่มรื่น มีธานน้ำตกที่เกิดจากลำธารไหลจากไหล่เขาตกลงสู่แอ่งใหญ่ตลอดปี

 ประวัติความเป็นมา
เขางุ้มเป็นเขาขนาดย่อมตั้งอยู่ตรงข้ามกับภูเขาช้าง ตำนานเล่าว่าเป็นเขาที่คู่กับเขาช้าง คือตางุ้ม เป็นเจ้าของช้าง คือเมื่อช้างตายตางุ้มก็กลั้นใจตายตามไปด้วย ภูเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่ ซึ่งกรมศิลปากรได้เข้าทำการสำรวจภายในถ้ำแห่งนี้แล้วระบุว่าเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุนับพันปีมาแล้ว
ลักษณะทั่วไป
เป็นถ้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินลงไปเล็กน้อย ภายในถ้ำมีความอับชื้นพอประมาณ พื้นถ้ำไม่เรียบ ภายในถ้ำมีความมืดพอประมาณ ต้องใช้ไฟฉายหรือแสงไฟอย่างอื่นช่วยจึงจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ชัดเจน บางแห่งมีน้ำขังอยู่ บริเวณหน้าถ้ำเป็นแนวเนินดินสูงบังปากถ้ำไว้ ที่เนินดินนั้นจะเป็นเศษเปลือกหอยทับถมกันอยู่เป็นกองแนวยาวหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอยทะเล ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นอาหารของมนุษย์โบราณ
 หลักฐานที่พบ
แหล่งนี้สำรวจพบมานานแล้วโดย พิสิฐ เจริญวงศ์ และไปรอัน พีค็อก เขางุ้มเป็นเขาหินปูนลูกเล็กๆ แต่เห็นเด่นชัดเพราะอยู่กลางเมืองพังงา ระหว่างเขาช้างและเขาพังงาพื้นที่บางด้านของภูเขา ยังเป็นป่าชายเลน ภายในเขางุ้มมีถ้ำสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในตัวเมืองพังงา จุดที่สำรวจพบโบราณวัตถุนั้น เป็นเพิงผาทางด้านตะวันตกของภูเขา เพิงผาแห่งนี้มีความยาวถึง ๖๐ เมตร ด้านหน้าเพิงผาเป็นที่ทับถมของกองเปลือกหอยขนาดใหญ่ตามแนวยาว และถูกขุดทำลายไปมาก บางจุดลึก ๒ -๓ เมตร โบราณวัตถุที่พบกระจายอยู่ทั่วๆ ไปบนผิวดินบริเวณที่ถูกขุด มีเครื่องมือหินกะเทาะรูปไข่ (Oval Shape)กะเทาะทั้งสองหน้า (Bifaces Tool) ทำจาากหินควอร์ตไซต์ ( Quartzite) เครื่องมือสะเก็ดหินพบหลายชิ้น ทำจากหินปูน (Limestone)หินทราย ( Quartzitic Sandstone ) และหินเชิร์ต (Chert) นอกจากนี้ก็พบค้อนหิน หินลับเศษภาชนะดินเผามีทั้งแบบสีดำขัดมัน (Burmished) เคลือบน้ำดินสีแดง (red-slipped) เรียบธรรมดาและมี ลายเชือกทาบ เครื่องมือกระดูกมีลักษณะที่ด้านหนึ่งมีรอบตัดแต่งหรือฝนให้มีความคมคล้ายใบมีดชิ้นส่วนศีรษะมนุษย์ (Skull) เขาสัตว์ กระดูกสัตว์บก กระดูกปลา (Fish Bone) ก้ามปู (Pincers) และเปลือกหอย
 
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
เดินทางไปตามถนนเพชรเกษมถึงบริเวณหน้าศาลากลางหลังใหม่ เลยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงาไปประมาณ ๒ เมตรมีทางแยกเลี้ยวขวา ผ่านหน้าสถานีดับเพลิง ๒ ของเทศบาลเมืองพังงาไปประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร มีทางเดินท้าวเข้าไปถึงแหล่ง
       อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา อยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอตะกั่วทุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ 250,000 ไร่ ประกาศเป็นเขตอุทยานฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2524 การเดินทางใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ซึ่งมุ่งใต้สู่ตำบลโคกกลอยห่างจากตัวเมืองประมาณ 8 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 4144 อีก 4 กิโลเมตรถึงที่ทำการอุทยานฯการเข่าเรือนำเที่ยวอ่าวพังงามีสถานที่ให้เช่าหลายแห่งดังนี้
       – ท่าเรือด่านศุลกากร ใกล้โรงแรมพังงาเบย์รีสอร์ท
       – ท่าเรือสุระกุล หรือท่าเรือกระโสม ในอำเภอตะกั่วทุ่ง เป็นเรือหางยาว จุลำละ 6-8 คน เที่ยวละ ประมาณ 800 บาท
       – ท่าเรือในบริเวณอุทยานแห่งชาติอ่างพังงา เป็นเรือหางยาวจุลำละ 8 คน
 
       การเดินทางไปชมอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาโดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งเรือจะนำเที่ยวไปยังเกาะปันหยี เขาพิงกัน เกาะตะปู ถ้ำลอด เกาะห้อง หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ในบริเวณใกล้ แล้วแต่จะตกลงกับเรือนำเที่ยว

เกาะปันหยีหรือบ้านกลางน้ำ
        เกาะปันหยีหรือบ้านกลางน้ำ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ชื่อนี้มีที่มาเนื่องจาก “โต๊ะบาบู”ผู้นำชาวอินโดนีเซียอพยพมาเมื่อ 200 ปีก่อน เมื่อมาเจอเกาะปันหยีได้ขึ้นไปปักธงให้พรรคพวกที่อพยพ มาี่ด้วยกันรู้ว่าเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะตั้งบ้านเรือน คำว่า “ปันหยี” แปลว่า “ธง” มีลักษณะเป็นหมู่บ้านที่ตั้งเรียงราย อยู่บนทะเลมีที่ดินนิดเดียวซึ่งเอาไว้เป็นที่สร้างมัสยิดและกุโบว์ ชาวเกาะส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และสร้าง หมู่บ้านแทบทั้งหมดด้านหน้าของหน้าผาหินปูนเหนือน้ำทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำประมงพื้นบ้าน ตลอดจนมีร้านขายของที่ระลึกและร้านอาหารมากมายบนเกาะ เป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาแวะเยี่ยม ชมมีสินค้าที่ ี่ระลึกจำหน่าย เช่น ผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอย ผ้าบาติก สร้อย กำไล แหวน ที่ทำมากจากหอยมุก และยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก เช่น น้ำพริกกุ้งเสียบ กะปิและเป็นจุดพักทานอาหาร นักท่องเที่ยว มักนิยมมาทาน อาหารกลางวันที่เกาะปันหยีี
ชุมชนกลางน้ำเกาะปันหยี
วัดสุวรรณคูหา
ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลกระโสม อำเภอตะกั่วทุ่ง การเดินทางใช้เส้นทางทางหลวงหมายเลข 4 สายพังงา-บ้านโคกกลอย ไปประมาณ 7 กม. ถึงหลักกม.ที่ 31 อำเภอตะกั่วทุ่ง จะมีถนนราดยาง แยกเข้าขวามือไปอีก 1 กม.
วัดสุวรรณคูหานี้ชาวบ้านทั่วไป เรียกว่า "วัดถ้ำ" เป็นวัดที่ น่าสนใจและมีความสำคัญ ที่สุดของจังหวัดพังงาเนื่องจากเป็นโบราณสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และทางโบราณคดีในบริเวณที่ตั้งวัดมีภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่น้อยหลายแห่ง ถ้ำที่สำคัญได้แก่ถ้ำใหญ่ ถ้ำแจ้ง ถ้ำมือและถ้ำแก้ว ถ้ำใหญ่อยู่ตอนล่างสุด เวลาเข้าถ้ำจะต้องผ่านถ้ำนี้ก่อนเสมอ มีขนาดใหญ่กว่าถ้ำอื่น กว้างประมาณ 20 เมตรเศษ ยาวประมาณ 40 เมตรเศษ พื้นถ้ำเรียบ เพดานโค้งครึ่งวงกลมเหมือนประทุนเรือ ตลอดความยาวของถ้ำประดับตกแต่งด้วยกระเบื้อง ถ้วย จานเชิงลายครามและเบญจรงค์ ชนิดขนาดต่างๆ ถ้ำใหญ่ใช้เป็นวิหารมีพระพุทธรูปปูนปั้นต่างๆ ประดิษฐานอยู่จำนวนหลายองค์ ที่สำคัญคือ พระพุทธไสยาสน์ ขนาดยาว 7 วา 2 ศอก องค์หนึ่งมีความสวยงามมาก นอกจากนั้นยังมีพระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์หลายพระองค์


หาดป่าทราย
       “หาดป่าทราย” ชายหาดยาวประมาณ 500 เมตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะยาวน้อย ห่างจากท่าเรือมะเนาะห์ประมาณ 8 กม. หากคุณนั่งรถสองแถวหรือขี่จักรยานยนต์มาตามถนนจากท่าเรือมะเนาะห์ หาดป่าทรายจะเป็นชายหาดแรกทางฝั่งทิศตะวันออกของเกาะยาวน้อยที่คุณจะได้พบ บรรยากาศริมหาดป่าทรายนั้นร่มรื่นไปด้วยเงาของต้นสนประดิพัทธ์ซึ่งขึ้นอยู่เกือบตลอดแนวยาวของชายหาด มีรีสอร์ทหลายระดับหลากราคาเปิดให้บริการ (หาดป่าทรายเป็นชายหาดซึ่งมีชื่อเสียงที่สุดบนเกาะยาวน้อยและเป็นชายหาดที่มีบังกะโล/รีสอร์ทเปิดให้บริการอยู่มากที่สุด แต่เท่าที่ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมลองนับ ๆดูบังกะโล/รีสอร์ทบริเวณหาดป่าทรายทั้งหมดแล้วก็มีอยู่เพียงแค่ไม่ถึง 10 แห่ง) มีการสร้างแนวเขื่อนกันคลื่นและวางเก้าอี้พลาสติกไว้ให้นักท่องเที่ยวนั่งพักผ่อนรับลมริมชายหาด ลักษณะชายหาดเป็นทรายปนกรวดมีสีน้ำตาลอ่อนคล้ายสีเปลือกไข่ น้ำทะเลสีฟ้าอมเขียวไม่ใสมากนักแต่ก็ถือได้ว่าใสมากกว่าชายหาดชื่อดังหลาย ๆแห่ง (น้ำทะเลใสกว่าหาดพัทยา จ.ชลบุรี ,หาดแม่รำพึง จ.ระยอง ,หาดชะอำ จ.เพชรบุรี ,หาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ,หาดเขาหลัก จ.พังงา และอ่าวนาง จ.กระบี่แน่นอนครับ) มีขยะกระจายอยู่ตามแนวชายหาดบ้างไม่มากนัก หาดป่าทรายนี้มีความลาดเอียงของพื้นทรายใต้ทะเลน้อยจึงสามารถลงเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย บริเวณช่วงต้นหาดทางด้านทิศใต้มีคลองระบายน้ำจืดเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ติดกับคลองระบายน้ำดังกล่าวเป็นสนามฟุตบอลเล็ก ๆ ใครที่มาท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะจะมาตั้งทีมเล่นฟุตบอลกับชาวบ้านในช่วงเย็น ๆ ก็ได้ 

     “หาดคลองจาก” ได้ชื่อว่าเป็นชายหาดซึ่งมีความคึกคักที่สุดบนเกาะยาวน้อย แม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นแต่
จริง ๆแล้วหาดคลองจากนี้ก็มีร้านอาหารกึ่งผับเปิดบริการอยู่ด้านหน้ารีสอร์ทเพียงแค่ 2 – 3 ร้านพอจะให้นักท่องเที่ยวซึ่งรักแสงสีและความสนุกมานั่งคลายเหงาในยามค่ำคืนได้บ้างเท่านั้น (หากคุณคิดว่าชายหาดที่คึกคักที่สุดบนเกาะยาวน้อยจะอึกทึกครึกโครมมึนเมามันกันสุดเหวี่ยงดังเช่น หาดริ้นนอกบนเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี ,หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต หรือ หาดพัทยา จ.ชลบุรี ล่ะก็ ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมบอกได้สั้น ๆว่าคุณคิดผิดครับ) ส่วนในช่วงกลางวันบรรยากาศริมหาดคลองจากนี้จะค่อนข้างเงียบสงบคล้าย ๆกับชายหาดอื่น ๆบนเกาะยาวน้อย ลักษณะของหาดทราย ,สี และความใสของน้ำทะเลไม่แตกต่างจากหาดป่าทรายสักเท่าไหร่ แต่บริเวณริมชายหาดจะมีขยะกระจัดกระจายอยู่มากกว่าบริเวณหาดป่าทรายเล็กน้อย (ด้านหน้ารีสอร์ทส่วนใหญ่จะมีการเก็บกวาดขยะริมชายหาดเป็นอย่างดี แต่ชายหาดช่วงที่ไม่มีรีสอร์ทตั้งอยู่จะมีขยะกระจายตัวให้เห็นอยู่พอสมควร) ณ บริเวณหาดคลองจากนี้คุณจะสามารถหาซื้อทัวร์ไปเที่ยวตามหมู่เกาะต่าง ๆรอบ ๆเกาะยาวน้อยได้ เช่น หมู่เกาะไข่ ,เกาะห้อง ,เกาะพนัก ,หมู่เกาะพีพี (จ.กระบี่) เป็นต้น หาดคลองจากตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะยาวน้อย ติดต่อกับด้านทิศเหนือของหาดป่าทราย ห่างจากท่าเรือมะเนาะห์ประมาณ 9 กม.




 ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ
             ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ อยู่ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ถนนเขาช้าง เขตเทศบาลเมือง ริมถนนเพชรเกษม เยื้องกับศาลากลางจังหวัด ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือเป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้ ถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้าถ้ำลูกเสือ ภายในถ้ำทั้งสองเย็นสบาย มีธารน้ำใสและมีหินงอกหินย้อย ด้านหน้าถ้ำริมถนนเพชรเกษม เทศบาลจัดเป็นสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อน ถ้ำฤาษีสวรรค์และถ้ำลูกเสือ เป็นถ้ำที่สามารถทะลุถึงกันได้โดยมีถ้ำฤาษีสวรรค์อยู่ด้านหน้า ภายในจะมีธารน้ำใส เย็นสบาย มีหินงอกหินย้อย สามารถเดินจากด้านหน้าถ้ำทะลุไปด้านหลังถ้ำได้ นอกจากนี้แล้วนักท่องเที่ยวยังสามารถเดินทางไปยังถ้ำลูกเสือ ซึ่งเป็นถ้ำที่มีขนาดเล็กกว่าถ้ำฤาษีสวรรค์มากพอสมควร แต่อในบริเวณใกล้ๆกันโดยภายในถ้ำมีหิน งอกหินย้อยอยู่ประปราย และมีฝูงลิงอยู่ด้านหน้าถ้ำอีกด้วย




ถ้ำลอดเกาะพนัก จ.พังงา

ถ้ำทะเลที่กำเนิดจากแรงกัดเซาะของคลื่นทะลุทุลวงจนเป็นโพรงให้ผู้คนดั้นด้นเข้าไปค้นหาใครจะเชื่อว่า ด้วยเรือแคนุลำน้อยค่อย ๆ ฝ่าความมือเข้าไปในยามที่น้ำลดทะเลสาบสีใสราวมรกตแวดล้อมด้วยภูผา ก็จะปรากฏอยู่ตรงหน้าราวกับมิติลี้ลับที่คืนกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง
วันเวลาที่แนะนำ  ถ้ำลอดเกาะพนักสามารถเที่ยวได้สะดวกตามฤดูกาลคือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม แต่การจะเข้าถ้ำได้ต้องเลือกเข้าใจจังหวะเวลาน้ำลงและออกจากถ้ำก่อนเวลาน้ำขึ้น ซึ่งต้องศึกษาตารางน้ำในแต่ละวัน    
 

การเดินทาง
จากอ่าวพังงาสามารถเช่าเหมาเรือออกไปเที่ยวที่เกาะพนัก ได้การล่องแคนูอาจเป็นการสะดวก ถ้าติดต่อบริษัททัวร์เอกชนที่ดำเนินธุรกิจประเภทนี้อยู่โดยเฉพาะจากภูเก็ต
หมู่เกาะในอ่าวพังงา 
อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา
ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่จำนวนมากมายกว่าร้อยเกาะ แต่ละเกาะล้วนมีรูปทรงสัณฐานงดงามแปลกตา บางเกาะคล้ายตะปู คล้ายดอกเห็ด หรือลักษณะสัตว์ต่าง ๆ ตามจินตนการของผู้พบเห็น และเกาะแก่งในอ่าวพังงายังมีถ้ำทะเล อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำทะเล คลื่น ลม เช่น บริเวณถ้ำลอดใหญ่ ถ้ำลอดน้อย เกาะพนัก เกาะตะปู เกาะเขาพิงกัน และยังสามารถเที่ยวชม วิถีชีวิตของผู้คนบนชุมชน 
เกาะปันหยี ซึ่งเป็นเกาะที่ไม่มีผืนแผ่นดินที่ราบ แต่ยังมีหมู่บ้านชาวประมงราว 120 หลังคาเรือน ปลูกสร้างบ้านเรือนติดกันอยู่ในทะเลรอบเกาะ

เกาะตาชัย
เกาะตาชัย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และอยู่ไม่ไกลจากหมู่เกาะสุรินทร์ มากนัก ถูกพบครั้งแรกโดยชายที่ชื่อ ตาชัย ทำให้ตั้งชื่อเกาะตามคนค้นพบว่า เกาะตาชัย  ถือได้ว่าเป็น เกาะบริวาร แห่งใหม่และอยู่ในความดูและรับผิดชอบของของ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน
เกาะตาชัย
ถือได้ว่า เกาะตาชัย มีลักษณะทางธรรมชาติที่คล้ายคลึงกับสิมิลันไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลสีฟ้าใส หาดทรายขาว ละเอียด นุ่มเท้าชายหาดทรายขาวที่ทอดยาวขนานไปกับผืนน้ำประมาณ 700 เมตร  มีจุดดำน้ำดูปะการัง ที่ทอดตัว ยาวขนานกับชายหาด  มีแนวปะการังที่สวยงามและค่อนข้างสมบูรณ์ไปด้วยปะการังแข็งและปะการังอ่อนสีแดง และความสมบูรณ์ของแนวปะการังทำให้เกาะตาชัยอุดมไปด้วยด้วยปลาทะเลน้อยใหญ่ที่เข้ามาหากิน และหลบภัย จากอวนลากของชาวประมง หากมาในช่วงจังหวะดีๆ จะได้พบเห็นฉลามวาฬ กระเบนราหู และกระเบนนก เวียนว่าย ไปมาทักทาย  ด้วยความงดงามและความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทำให้ เกาะตาชัย กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ ทำให้นักท่องเที่ยวหลายต่อหลายคน อยากเดินทางไปสัมผัส